000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > ระบบเสียง PA > เครื่องเสียง PA > สเตอรีโอ 3-ch
วันที่ : 13/01/2016
7,200 views

สเตอริโอ 3-CH

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ในการฟังเพลงสเตอรีโอ แน่นอนว่าเราใช้ระบบเสียง 2 ร่องเสียง (2 channel หรือ 2-ch) โดยร่องซีกซ้าย (L) ออกลำโพงซ้าย ร่องซีกขวา (R) ออกลำโพงขวา เสียงตรงกลางระหว่าลำโพงซ้าย, ขวา (center หรือ c) เกิดจากการที่ร่องเสียงซีกซ้ายกับขวา (L, R) ให้สัญญาณเสียงที่เท่ากันออกมาพร้อมๆ กัน ก็จะปรากฏ ?เสมือน? ว่าเกิดเสียง c นั้น อยู่ตรงกลางระหว่างลำโพงซ้ายกับลำโพงขวา เราเรียกว่า เป็น ?เสียงผี (คือไม่มีลำโพงจริงอยู่ตรงนั้น) ภาษาอังกฤษเรียกว่าเป็น phantom? เสียงที่ควรจะอยู่ระหว่างลำโพง L หรือ R กับ phantom C ก็จะได้จากส่วนผสมมากน้อยระหว่างเสียงจาก phantom C กับ L และ phantom C กับ R ด้วยวิธีนี้เราก็จะได้ตำแหน่งเสียงกระจายไล่จากซ้ายเรื่อยๆ ไปจนถึงขวาอย่างครบถ้วนได้

??????????????? ซึ่งขอยืนยันว่า ด้วยวิธีการ ?บันทึก? และ ?เล่นกลับ? ด้วยระบบเสียงแค่ 2-ch (2 ร่องเสียง, สเตอรีโอ) จะสามารถ ?สร้าง หรือ จำลอง? สนามเสียง หรือเวทีเสียง (Sound Stage) ได้อย่างสมจริง ดุจเราไปชม การแสดงสด

??????????????? หลักการนี้ มีการใช้กันมานานเกือบ 70 ปีแล้ว จากที่แต่เดิม เริ่มต้นด้วยการฟังทีละหลายๆ ร่องเสียง (multi-channel) นับสิบร่อง โดยวางไมโครโฟนเป็นสิบ ไล่จากซ้ายไปขวาของวงดนตรีจริงๆ ที่กำลังเล่นอยู่ แล้วผ่านภาคขยายเสียงเป็นสิบเท่ากัน ไปออกลำโพงเป็นสิบเรียงจากซ้ายไปขวาในทิศทางรูปแบบเดียวกับการวางไมโครโฟนที่ห้องฟัง ก็จะได้ ?ภาพเวทีเสียง (image)? ประหนึ่งไปนั่งฟังในห้องแสดงดนตรีนั้นจริงๆ (เรียกเข้า 10 ออก 10 ตรงตัวเลย) จากนั้นก็ลองลดจำนวนร่องเสียงลงเรื่อยๆ (ลดจำนวนไมโครโฟน, ภาคขยาย, ลำโพง) จนในที่สุดเหลือแค่ไมโครโฟนซ้าย, ขวา ภาคขยายซ้าย, ขวา ลำโพงคือ 2 ร่องเสียง (2-ch) ก็ยังให้ ?ภาพเวที (sound stage image)? ใกล้เคียงกับตอนที่ใช้ 10 ร่องเสียง

??????????????? น่ันคือระบบเสียงสเตอรีโอ 2-ch เริ่มจาก multi-channel (ด้านหน้า) มาก่อน จำตรงนี้ไว้ดีๆ

??????????????? วันดีคืนดี เมื่อกว่า 30 ปีมาแล้ว มีนักวิจัย, วิจารณ์ เขียนบทความในนิตยสาร AUDIO ของอเมริกา ท่านหนึ่ง (ดังมาก) (ปัจจุบันนิตยสารนี้เลิกไปกว่า 10 ปีแล้ว...น่าเสียดาย นิตยสารดีๆ นี้อย่างยิ่ง) นำเสนอข้อคิดว่า น่าจะบันทึกกันแบบ 3-ch และเล่นกลับ 3-ch (ภาคขยาย 3 ชุด ซ้าย, กลาง, ขวา หรือ L, C, R ลำโพงก็เช่นกัน L, C, R) แล้วเขาวิจารณ์ว่า ให้เสียงที่น่าตื่นเต้นมาก ดีกว่า 2-ch ปกติที่ฟังๆ กันมากอย่างไม่อยากกลับไปฟัง 2-ch อีกเลย ตอนนั้นผู้เขียนเองก็ตื่นเต้น สนใจมากๆ เพราะเจ้าของคอลัมน์ประจำนั้นเป็นที่เชื่อถือและศรัทธาของผู้เขียนอยู่แล้ว (นึกออกแล้ว เขาชื่อ ลีโอนาร์ด เฟลด์แมน ปรมาจารย์เครื่องเสียง ท่านเสียชีวิตมากว่า 20 ปีแล้ว)

??????????????? ปัจจุบันผู้เขียนเข้าใจแล้วว่า ทำไมไม่เฉพาะแต่ท่านลีโอนาร์ด เฟลด์แมน (Leonard Feldman) จึงฝันอยากให้การฟังเพลงปกติของพวกเราเป็น 3-ch (L, C, R) เหตุผลที่พอเป็นไปได้คือ

??????????????? 1. การวางลำโพงขณะฟังเพลง มักเข้าใจผิดและวางแบบหน้าตรง ขนานกับกำแพงหลังลำโพง (แทนที่จะเอียงลำโพงยิงเสียงซ้าย, ขวา มาตัดกันหน้าผู้ฟังตรงกลาง (toe in)) ทำให้เสียงทั้งหมดฟุ้งกระจายไม่โฟกัสเป็นตัวตน, ทรวดทรง ตรงกลางจึงเบลอ ฟุ้งไปหมด

??????????????? ถ้ามีร่องเสียงตรงกลาง (C) มาเสริม แน่นอนว่า ก็จะรู้สึกว่า ตรงกลางชัดขึ้นมาก แต่สังเกตว่า ชิ้นตนตรีซ้ายก็ดี, ขวาก็ดี และระหว่างซ้ายกับตรงกลาง (L-C) ขวากับตรงกลาง (R-C) ก็ยังฟุ้งกระจาย เบลออยู่ดี

??????????????? 2. ขณะที่ฟังทดสอบแผ่นหรือเพลงนั้น บังเอิญกรวยของดอกลำโพงของตู้ลำโพงซ้ายและขวาขยับดันอากาศเข้าไปในตู้ (เรียก absolute phase กลับ) เสียงจึงจม ถอยแบนติดจอ การเพิ่มร่องเสียงกลาง (C) จากการบันทึกแบบ 3 ร่องแท้ๆ มาเข้าลำโพงเซ็นเตอร์ (C) โดยอาจใช้ภาคขยาย และลำโพงที่ต่างจากชุดซ้ายกับขวา แล้วบังเอิญให้การขยับของกรวยลำโพงตู้กลางในทิศทางดันอากาศออกมาหาเรา (absulute phase ถูก) แน่นอนว่า เสียงจากลำโพงกลางจะโฟกัส, ชัดกว่า ทำให้เหมือนมันช่วยมิติเสียงตรงกลางอย่างคนละเรื่องเลย

??????????????? 3. กรณีที่ตู้ลำโพงซ้าย, ขวา ดอกลำโพงขยับดันอากาศมาหาเราอย่างถูกต้อง (absolute phase ถูก) แต่บังเอิญดอกลำโพงแหลมกับดอกลำโพงกลางทุ้ม (กรณีลำโพง 2 ทาง) ต่อกลับเฟส คือ ขยับสวนกัน เรียก Relative Phase ผิด ทำให้เสียงแบนจมติดตู้ลำโพง (ฟุ้ง, เบลอด้วย) การเติมร่องเสียงกลางเข้าไป บังเอิญตู้ลำโพงกลาง ดอกกลางทุ้มกับดอกแหลมขยับดันอากาศมาหาเราทั้งคู่ เสียงก็จะเป็นตัวตนโฟกัสดีกว่า การเพิ่มเข้าไปจึงเหมือนช่วยได้มหาศาล

??????????????? 4. ถ้าตู้ลำโพงซ้าย, ขวา ดอกลำโพงของตู้ขยับดันอากาศออกมาหาเราถูกต้องทั้งหมด ทุกดอกแต่บังเอิญ อุปกรณ์บนแผงวงจรแบ่งเสียง (ตัวเก็บประจุ, ตัวต้านทาน, ตัวขดลวด) หรือแม้กระทั่งสายลำโพงภายใน ตู้ต่อสลับขาเข้า-ออก (direction) แม้อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นแบบไร้ขั้ว (non-polar) ก็ตาม (ต้องเข้าขาไหน, ออกขาไหน, ต้องเข้าหัวสายหรือท้ายสาย ต้องฟังทดสอบเอาอย่างเดียว) เสียงจะแบน, ฟุ้ง, ตื้อๆ ไม่เป็นทรวดทรง 3 มิติ (3D) อาจผิดเหมือนกันทั้งตู้ซ้าย, ตู้ขวา? หรือตู้หนึ่งผิด อีกตู้ไม่ผิด มันก็ฟุ้ง, เบลอ, ตื้อ อยู่ดี การเพิ่มร่องเสียงกลางที่บังเอิญภายในตู้ลำโพงกลาง อุปกรณ์บนแผงวงจรแบ่งเสียงและสายถูกหมด หรือถูกมากกว่าผิด การเพิ่มตู้กลางก็ทำให้เหมือนทุกอย่างดีขึ้น ความถูกผิดเรื่องทิศทางสายลำโพงภายนอกที่เข้าสู่แต่ละตู้ก็มีผลเช่นกัน

??????????????? 5. กรณีที่ ?ทุกอย่าง? ถูกหมดของตู้ซ้ายกับตู้ขวา ทั้ง Relative Phase (ระหว่างดอกในตู้) absolute phase ถูก (ดันอากาศออกมาหาเรา), direction (ทิศทางอุปกรณ์, สาย) ถูกหมด แต่บังเอิญ ตัวดอกลำโพงแหลมกับดอกลำโพงกลางทุ้มอยู่ห่างกันมากเกินไป ทำให้เสียงหัวโน้ตกับตัวโน้ตแตกแยกจากกัน เสียงจะไม่มีทรวดทรง, ฟุ้ง, ไม่ชัดเจน (นอกจากเปิดดังมาก หรือนั่งฟังห่างมาก) เรียกว่า มันสูญเสียความเป็น ?จุดกำเนิดเสียงเดียวกัน (point source)? การเพิ่มตู้กลางที่บังเอิญดอกแหลมกับดอกกลางอยู่ชิดติดกัน ซึ่งให้ความเป็น point source ที่ดีกว่า แน่นอนว่า กลางก็ต้องดีขึ้น ยิ่งในอดีต ดอกแหลมกับดอกกลางทุ้ม (หรือแม้กระทั่งดอกทุ้ม) มักติดตั้งบนตู้ที่ห่างกันค่อนข้างมาก ความเป็น point source ยิ่งไม่มี

?

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความถูกต้อง

??????????????? จะเห็นว่า ถ้าเราทราบปัญหาตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 5 และป้องกันแต่ต้นมือ กับทั้งติดตั้งชุดให้ถูกต้องอย่างถึงที่สุดต่อระบบเสียง 2-ch ของเรา ก็ย่อมไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องบันทึกเล่นกลับแบบ 3-ch เลย (มีกลาง)

??????????????? การพยายามสร้างกระแส 3-ch จึงเป็นการถอยหลังเข้าคลองอย่างสำคัญผิด โดยมองข้ามความผิดพลาดต่างๆ ไม่แก้ไขให้ถูกต้องที่สุดไว้ก่อน

??????????????? จำไว้ว่า แค่ 2-ch (ซ้าย, ขวา) ก็ยุ่งน่าดูแล้ว ถ้าต้องเพิ่มอีก 1-ch (กลาง) จะไม่ยิ่งปวดหัว มีโอกาสผิดพลาด เละตุ้มเป๊ะอีกมากหรือ ซึ่งก็ขอฝากไว้กับระบบเสียงหนัง 5.1, 7.1, 9.1, 10.1-ch ทั้งหลายในระบบเสียงโฮมเธียเตอร์ด้วย (ยังไม่นับร่องซับวูฟเฟอร์)

??????????????? ที่ต้องพูด ?กันท่า? ไว้ก่อน เพราะสักวันคงมีคนสมองใสบางคน นำเสนออัลบั้มเพลงบนแผ่น DVD (ไม่มีภาพ) แบบ 3-ch (L, C, R) เพราะเดี๋ยวนี้ ใครๆ ก็เล่นชุดโฮมเธียเตอร์รอบทิศในบ้านกันอยู่แล้ว ซึ่งก็ต้องผจญกับปัญหาข้อ 1 ถึง 5 เช่นกัน

???????????????

คิดแบบย้อนศร ตัดเซ็นเตอร์ออกจากระบบโฮมเธียเตอร์ได้ไหม

??????????????? เป็นคำถามที่ดีมาก อย่างที่ทราบกันดีว่า ในระบบเสียงรอบทิศ (โฮมเธียเตอร์) แม้รีซีฟเวอร์เซอราวด์จะมีราคาถูกลงมาก แต่ปัญหากลับอยู่ที่ตัว ?ตู้ลำโพงเสียงกลาง? ยิ่งตอนนี้ใครๆ ก็หันมาดูภาพจากจอ LCD, Plasma ยิ่งปวดศีรษะในการหาที่วางตู้ลำโพงเซ็นเตอร์มาก วางตรงกลางก็บังจอ นี่คือเหตุผลที่ตู้ลำโพงเซ็นเตอร์มักทำมาแนวนอนทั้งหมด ซึ่งผิด เพราะจะให้มุมกระจายเสียง (direction pattern หรือ polar response) ที่ไม่สอดรับกับลำโพงซ้าย, ขวา (หรือแม้แต่กับตู้เซอราวด์หลัง) รายละเอียดบางอย่างจะหายไป บรรยากาศจากตู้ลำโพงทั้ง 5 (กรณี 5.1-ch) จะไม่ผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จะกระจายเป็นหย่อมๆ การโยนเสียงไปมาจากหน้ามาหลัง (หรือกลับกัน) หรือแนวเฉียง, กลางห้อง ฯลฯ จะไม่ชัดเจนเท่าที่ควร (จากหน้ามาหลังจะแย่ลงมาก)

??????????????? แม้แต่การดูจากเครื่องฉาย จอขนาด 70 นิ้ว (ทแยง) ขึ้นไป อาจวางตู้ลำโพงเซ็นเตอร์ไว้ใต้จอได้โดยไม่บังภาพ แต่ก็เป็นสิ่งที่ผิด เพราะดีที่สุดก็คือ วางไว้เหนือจอ จะให้การโยนเสียงหน้า-หลังได้ดีกว่ามาก อีกทั้งทุ้มลึกจากตู้ซับก็จะโฟกัส, คมชัด, เข้มข้น และกระชับขึ้น

??????????????? การวางตู้เซ็นเตอร์บนตู้ซับ ยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เสียงเซ็นเตอร์จะแย่ลง ก็จะดึงให้ ?ทุกอย่าง? จากทุกตู้ในระบบแย่ลงหมด ...!

??????????????? จำไว้ว่า ลำโพงเซ็นเตอร์ เป็นตัวกำหนดความเป็นความตายให้แก่ระบบเสียงโฮมเธียเตอร์อย่างที่คุณนึกไม่ถึงทีเดียว

??????????????? แม้การจัดวางตู้เซ็นเตอร์อาจมีที่ทางที่ทำได้ ถ้าตู้เซ็นเตอร์ไม่ใหญ่มากนัก แต่ก็อย่างที่ผู้เขียนพร่ำเตือนอยู่เสมอว่า ในระบบโฮมเธียเตอร์ ถ้าจะให้เสียง, บรรยากาศสมจริงที่สุด ตู้ลำโพง, ภาคขยายทั้ง 5-ch (กรณี 5.1-ch) จะต้องเหมือนกันหมด ถ้าเกิดตู้ลำโพงซ้าย, ขวา หน้า เป็นตู้ใหญ่ เช่น 3-ทาง วางพื้น (เผื่อไว้ฟังเพลง 2-ch ให้ได้ดีที่สุดด้วย) ตู้เซ็นเตอร์จะวางได้อย่างไร โดยเฉพาะถ้าเล่นจอ LCD, Plasma ต่อให้ใช้เครื่องฉายด้วย เพราะอย่าลืมว่า จากการวิจัย การต้องแหงนคอมองภาพที่อยู่สูงกว่าระดับสายตานานๆ จะทำให้คอเคล็ด, เครียด ไม่สบายทั้งต่อร่างกาย และสายตา ดีที่สุดคือ ควรต่ำกว่าระดับสายตา หรือต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ (การวางจอรับภาพของเครื่องฉายไว้สูง แล้วแก้ภาพสี่เหลี่ยมคางหมูด้วยวงจรสแกนภาพ จะทำให้ความละเอียดของเม็ดภาพแตกกระจาย ไม่เสมอกันทั้งจอ)

??????????????? ทางออกคือ จะดีไหมถ้าจะมีวงจร หรือวิธีอื่นใดที่สามารถ ?ฝาก? เสียงจากร่องเซ็นเตอร์ (C) ของระบบเสียงหนังรอบทิศ (จากแผ่น DVD, Blu-ray) มากับภาคขยาย/ตู้ลำโพงซ้าย, ขวา ในลักษณะ Phantom ดังกล่าว ในตอนแรกสุด โดยวงจรนั้นต้องสามารถแยกปรับ Absolute Phase ของเซ็นเตอร์ได้ด้วย ให้สอดรับกับการขยับออกของลำโพงซ้าย, ขวา (และเซอร์ราวด์) เพราะจากประสบการณ์ของผู้เขียนในการทดสอบรีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์จากแผ่นหนัง DVD, Blu-ray บ่อยๆ ที่เสียงจาก L, R กับจาก C และจากเซอร์ราวด์หลัง L, R อาจขยับเข้าออกสวนทิศกัน (absolute phase) ในหนังแต่ละเรื่องๆ เอาแน่ไม่ได้ (การเลือกร่องเสียง DTS, Dolby Digital ฯลฯ ก็ให้ผลแต่ละ ch ที่แตกต่างกับไปได้)

?

ข้อดีของการเล่น phantom เซ็นเตอร์ คือ

??????????????? 1. ติดตั้งง่ายขึ้นมากๆ

??????????????? 2. ประหยัดค่าตู้ลำโพงเซ็นเตอร์ (ชุดลำโพงแพงๆ จะประหยัดได้มหาศาล ลำโพงโฮมเธียเตอร์ไฮเอนด์ เฉพาะเซ็นเตอร์ก็ตู้ละ 3 แสนกว่าบาทขึ้นไป...!)

??????????????? 3. ประหยัดค่าสายลำโพง (สายลำโพงดีๆ เมตรหนึ่งเป็นพันบาทขึ้นไปถึงหลายๆ หมื่นบาท)

??????????????? 4. ไม่มีตู้ลำโพงเซ็นเตอร์มาอยู่ตรงกลางที่จะป่วนอะคูสติกส์ของซ้าย, ขวา (คือตู้เซ็นเตอร์ ไม่ทำตัวเป็น cavity resonator หรือตัวกำเนิดเสียงเก๊ๆ ตรงกลางเวทีเสียง)

??????????????? 5. แม้การใช้้ตู้เซ็นเตอร์ 2? ตู้ (ขับด้วยภาคขยายเซ็นเตอร์โมโนภาคเดียว) โดยเอาตู้เซ็นเตอร์ไปวางติดตู้ซ้ายหน้า, กับตู้ขวาหน้า เพื่อให้ ?ปรากฏ? เสียงเซ็นเตอร์อยู่ตรงกลาง แต่การใช้ 2 ตู้ ถ้าต่อขนานกัน ความต้านทานรวมลดลงครึ่งหนึ่ง ภาคขยายโมโนของเซ็นเตอร์จะหยุดการสั่นค้างของดอกลำโพงเซ็นเตอร์ได้แย่ลงครึ่งหนึ่ง (damping factor หรือ DF) จะทำเสียงเซ็นเตอร์ขุ่น, มัว, ยาน, เบลอ, ดึงให้มิติเสียง ch อื่นๆ แย่ลงหมดด้วย

??????????????? ทางแก้คือ อาจต่อตู้เซ็นเตอร์ทั้งสองแบบอนุกรมได้ความต้านทานรวมมากขึ้นเท่าตัว แต่ภาคขยายโมโนเซ็นเตอร์ก็ต้องเร่งขึ้นอีกมาก มันจะไหวไหม อย่าลืมว่า เสียงเซ็นเตอร์จะมี ?ตลอดเวลา? ภาคขยายจึงทำงานหนักที่สุดกว่า ch อื่นๆ มาก

??????????????? ในการวางตู้เซ็นเตอร์แบบดับเบิล ดีที่สุดคือ ต้องวางเอาหัวทิ่มลง เพื่อให้ดอกแหลมของตู้ซ้ายหน้ากับตู้เซ็นเตอร์ซ้ายอยู่ใกล้ชิดติดกัน (เป็น point source) (ด้านขวาก็ต้องทำเหมือนกัน) ถ้าตู้ซ้าย, ขวา, หน้า เป็นตู้วางพื้นสูง คงน่าเกลียดพิลึกถ้าเอาตู้เซ็นเตอร์ (ที่ต้องเหมือนตู้ซ้าย, ขวา, หน้า) มาวางเอาหัวทิ่มลงต่อขึ้นไปอีกชั้น ถ้าเป็นลำโพงวางหิ้ง (บนขาตั้ง) ก็คงพอไหว ไม่น่าเกลียด

??????????????? พูดก็พูดเถอะ แทนที่ผู้ผลิตรีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์จะปัญญาอ่อนเพิ่มภาคขยายเซอร์ราวด์เป็น 7.1, 9.1-ch (ล่าสุด 11.1-ch) อย่างไร้สาระ ทำไมไม่เพิ่มเซ็นเตอร์เป็น 2-ch เพื่อขับดับเบิลลำโพงเซ็นเตอร์ น่าจะเข้าท่า มีเหตุผลกว่าเยอะ

?

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459